วันที่โพสต์: Nov 02, 2015 9:44:32 AM
สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
วันที่โพสต์: Nov 02, 2015 9:44:32 AM
หลักของการเป็นตัวการร่วม
หมายเหตุท้ายฎีกา เรื่่อง "หลักของการเป็นตัวการร่วม" 17/04/2011 , 06:32
หมายเหตุโดย ท่านยงยศ เอี่ยมทอง
หลักของการเป็นตัวการร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ต้องเป็นการร่วมมือ
และร่วมใจในการกระทำความผิด
ร่วมมือ หมายความว่า ร่วมลงมือกระทำในขณะกระทำความผิด โดยอาจจะเป็นการ
แบ่งหน้าที่กันทำก็ได้ เช่น คอยดูต้นทางส่งสัญญาณให้พวกที่ลงมือกระทำการปล้นทราบ เมื่อเจ้า
หน้าที่ตำรวจมา (คำพิพากษาฎีกาที่ 565/2502, 854/2507 และ 321/2521) หรือคอยช่วยขับรถพา
หลบหนี (คำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2513) หรือจำเลยเพียงแต่ช่วยจับแขนขาผู้เสียหาย เพื่อให้พวก
ของจำเลยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราจนสำเร็จความใคร่ไปแล้ว 2 คน จำเลย
มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง (คำพิพากษาฎีกาที่ 2077/2530)
ส่วนร่วมใจ นั้นหมายความว่า ต้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดตั้งแต่แรกคือมี
ความคิดริเริ่มในการกระทำความผิดมาตั้งแต่แรกด้วยกัน โดนอาจร่วมกันวางแผน (คำพิพากษาฎีกา
ที่ 2154/2516) หรืออาจกล่าวสั้นๆ ได้ว่า มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิด ซึ่งกรณีอย่างใดจะถือว่ามี
เจตนาร่วมกันกระทำความผิดนั้น จำต้องวินิจฉัยตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องๆ ไป เช่น เมื่อจำเลย
ที่ 1 ใช้ปืนยิงผู้ตายแล้วจำเลยที่ 2, 3 ซึ่งมีอาวุธ กระโดดจากเรือนไปพร้อมจำเลยที่ 1 แสดงว่า จำเลย
ที่ 2, 3 รู้เห็น มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1369-1370/2508) หรือจำเลยรู้
เห็นมาก่อนว่า ช. จะไปยิงผู้เสียหาย จำเลยร่วมไปกับ ช. เป็นการให้กำลังใจ เมื่อ ช. ยิงผู้เสียหาย
จำเลยก็แสดงตนเป็นพวก ช. ทันที โดยร้องห้ามคนอื่นไม่ให้เข้าไปช่วยผู้เสียหายเป็นการแสดงให้
ผู้อื่นเห็นว่า ช. ไม่ได้มาคนเดียว แล้วจำเลยกับ ช. ก็หลบหนีไปพร้อมกัน ถือว่าจำเลยเป็นตัวการ
ร่วมกับช. ในการกะทำความผิด (คำพิพากษาฎีกาที่ 980/2529) หรือ จำเลยที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านของ
ผู้เสียหายพร้อมกับคนร้ายโดยยืนเอามือล้วงกระเป๋ากางเกงอยู่ที่ชานบ้านในลักษณะคุมเชิง ส่วน
คนร้ายเข้าไปคว้าปืนลูกซองยาวของผู้เสียหายที่แขวนไว้ข้างฝาและเกิดแย่งปืนกันกับภริยาของ
ผู้เสียหาย คนร้ายจึงได้ใช้เท้าแตะและชักมีดออกมาขู่ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 และคนร้ายวิ่งหลบหนี
ไปพร้อมกันพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับคนร้ายทำการปล้นทรัพย์ (คำพิพากษาฎีกาที่
451/2530) เป็นต้น
สำหรับความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสองนั้น ต้องมีการกระทำอันเป็นองค์ประกอบความผิด
เพิ่มจากความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรก
คือต้องมีการร่วมกันลงมือกระทำชำเราตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (คำพิพากษาฎีกาที่ 1202/2529 (ป),
4796/2530)
ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาฎีกาที่ 101/2533 นี้ ผู้เสียหายไปเที่ยวงานศพที่วัดแล้วพบจำเลย
นายลิ่ม และนายเชิด ซึ่งรู้จักกันมาก่อน นายลิ่มอาสาจะพาผู้เสียหายไปส่งบ้าน ผู้เสียหายตกลงกลับ
บ้านกับนายลิ่ม พอถึงที่เกิดเหตุ นายลิ่มก็ใช้กำลังประทุษร้ายและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายสำเร็จ
ความใคร่ 1 ครั้ง แล้วนายลิ่มได้ผิวปากเป็นสัญญาณให้จำเลยและนายเชิดเข้ามาข่มขืนกระทำชำเรา
ผู้เสียหายต่อจนสำเร็จความใคร่ คนละ 1 ครั้ง แล้วก็หลบหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์แห่งคดีเห็นได้ว่า
จำเลยกับพวกสมรู้ร่วมคิดมาแต่ต้น
คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำอันแสดง
ให้เห็นว่าเป็นการร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เพราะหากไม่ถือว่าเป็นตัวการ
ร่วมกันแล้ว การกระทำของนายลิ่ม กับการกระทำของจำเลยและนายเชิดก็จะขาดตอนกัน ซึ่งจะมี
ผลทำให้ไม่เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง
ที่มาhttp://lawdatabase.igetweb.com/