สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
มีหลายคนสงสัยเรื่อง ตำรวจเรียกตรวจค้นรถยนต์ส่วนบุคคล ว่าตำรวจมีอำนาจตามกฎหมายสามารถค้นรถโดยไม่มีหมายศาลได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ได้ค้นคว้าข้อมูลโดยอ้างอิงจากหนังสือ รพี 41 สำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภา ได้ความว่า การค้นรถยนต์ในสถานที่สาธารณะ เหมือนกับการค้นกระเป๋าใส่เอกสาร หรือกระเป๋าใส่เสื้อผ้า ดังนั้นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจเมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าในรถยนต์นั้น มีสิ่งของผิดกฎหมายย่อมมีอำนาจค้นรถยนต์นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 93 โดยถือว่าเป็นการค้นบุคคลที่ครอบครองรถยนต์นั้น หากมีการตีความว่ารถยนต์เป็นที่รโหฐาน ที่ต้องไปขอหมายค้นจากศาลมาก่อน จึงจะค้นได้ คนร้ายก็คงจะเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะกว่าจะขอหมายค้นมาจากศาลได้ รถยนต์คงแล่นไปไกลเกินกว่าจะตามไปตรวจค้นได้ทัน ครั้นจะกักรถยนต์ไว้รอหมายค้นของศาล ประชาชนผู้บริสุทธิ์ก็จะเดือดร้อน สรุปคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถ เรียกและตรวจค้นรถยนต์ส่วนตัวได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล.
อ้างอิงhttp://www.dailynews.co.th/article/626/218252http://www.dailynews.co.th/article/626/218252
เรื่องนี้ทนายชนะ ขอให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า แม้ป.วิ.อาญาม.93 จะให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นดังกล่าวได้ก็ตามแต่ก็ต้องมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรด้วยซึ่งเหตุอันควรสงสัยนั้นอันนี้ต้องตีความเคร่งครัดมากครับไม่ใช่จะยกเหตุอันควรสงสัยขึ้นมาเองที่จะค้นใครก็ได้เช่นตำรวจจราจรจะขอดูใบขับขี่ เราก็แสดงใด้ดู แล้วจะขอดูคู่มือจดทะเบียนเสียภาษี เราก็แสดงให้ดูแต่จู่ๆก็บอกเราว่าผมสงสัยจะมียาบ้าหรือสิ่งผิดกฎหมายให้เราลงจากรถเพื่อขอตรวจค้นในรถเอาดื้อๆโดยที่ไม่มีข้อพิรุธหรือเหตุใดๆเลยว่าเราจะมีสิ่งผิดกฎหมายในรถ อย่างนี้อาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้นะครับดัง คำพิพากษาฎีกาที่ 8722/2555 บริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านที่มีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นประจำ และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่ การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น โดยไม่มีเหตุผลสนันสนุนว่าเพราะเหตุใด จึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ,มาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 367
มีปัญหาข้อกฎหมายปรึกษาทนายชนะ (ทนายโบ้) โทร 080 549 3774