วันที่โพสต์: Jun 07, 2016 10:27:26 AM
สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
วันที่โพสต์: Jun 07, 2016 10:27:26 AM
การยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ร้องขอ (ปพพ. ม.1713)
ความเกี่ยวพันของผู้ร้องกับมูลเหตุแห่งคดีที่ต้องใช้สิทธิ์ทางศาลต้องมีความเกี่ยวพันสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก เป็นทายาทตามกฎหมาย เช่น เป็น สามีหรือภริยาผู้ตาย เป็นบุตรของผู้ตาย เป็นบิดามารดาของผู้ตาย เป็นต้น
ประการที่สอง เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งหากมิได้เป็นทายาทแต่เป็นผู้มีส่วนได้เสียอันเกิดแต่การตายของเจ้ามรดกก็อาจใช้สิทธิ์เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกได้ เช่น เป็น เจ้าหนี้กองมรดกของผู้ตายกรณีไม่มีผู้ใดร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก (ฏ.1695/2531) หรือเป็นภริยาโดยมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่มีทรัพย์สินที่หาร่วมกันมากับเจ้ามรดกผู้ตาย หรือบุคลคลภายนอกที่ทายาททุกคนพร้อมใจกันให้จัดการมรดกก็ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียเหล่านี้เป็นต้น
ประการที่สาม นอกจากคุณสมบัติดังสองประการแรกแล้วบุคลที่จะมีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกนั้นต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้าม(ตาม ปพพ. ม.1718) กล่าวคือ ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคลล้มละลาย
2. เหตุที่จะขอให้ศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกได้
กฎหมายได้กำหนดเหตุแห่งการร้องขอไว้ใน ปพพ.1713 ไว้ สามอนุมาตรา กล่าวคือ
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
ซึ่งจะพบเจอบ่อยๆในทางปฏิบัติคือ มีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือ ในการแบ่งปันมรดก ตาม ปพพ.1713(2) เช่น ทายาทไม่ปรองดองกันจนเกิดการโต้เถียงกันจนจัดการมรดกไม่เรียบร้อย หรือ เจ้าพนักงานที่ดินไม่ยอมจดทะเบียนโอนสิทธิ์และนิติกรรมให้ทายาท จนกว่าจะได้เห็นคำสั่งศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมจนกว่าจะมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก หรือทายาทมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันรุนแรง เหล่านี้เป็นต้น
พยานหลักฐานหรือเอกสารหลักฐานสำคัญที่เกี่ยวข้อง
1.กรณีทายาทเป็นผู้ยื่นคำร้องขอ ต้องแสดงเอกสารสำคัญ
เช่น สำเนาสูติบัตรทายาท สำเนาทะเบียนบ้านทั้งของทายาทและของผู้ตาย ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย และใบมรณะบัตรผู้ตายกรณีทายาทเป็นบุตรผู้ตาย และหากผู้ตายเป็นบิดาผู้ร้องในฐานะบุตรก็ต้องแสดงทะเบียนสมรสระหว่างมารดากับผู้ตายด้วย
1.2 บัญชีเครือญาติ เครือญาติที่หากยังมีชีวิตอยู่ก็จะมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายให้ลงชื่อในบัญชีทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตไปแล้วก่อนนั้นก็ตาม และในกรณีที่ยังมีชีวิตอยู่ให้จัดเตรียมเอกสารแสดงฐานะทายาท เช่น หากเป็นบุตร หรือบิดามารดา ก็แสดง สูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน หากเป็นคู่สมรส ก็ต้องแสดงทะเบียนสมรส เป็นต้น
1.3.บัญชีทรัพย์ แสดงรายการทรัพย์สินทรัพย์มรดกที่ต้องจัดการพร้อม แสดง เอกสารสิทธิ์ต่างๆเช่น โฉนดที่ดิน สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ หรือ บัญชีเงินฝากของธนาคารผู้ตายเป็นต้น
1.4 หนังสือให้ความยินยอมทายาท หมายถึงทายาททุกคนให้ความยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกด้วยความสมัครใจ หากไม่ถนัดในการร่างเองให้ปรึกษาทนายความจะรัดกุมกว่า
2.กรณีที่ผู้มีส่วนได้เสีย เป็นผู้ยื่นคำร้องขอนอกจากทายาทนั้น ต้องนำสืบทางข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไปซึ่งอาจอาศัยพยานบุคคลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องก็ต้องรวบรวมกันอีกครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
ในการเรียบเรียงคำร้องและยื่นขอดำเนินการต่อศาลให้ลุล่วงสำเร็จโดยดีนั้นต้องอาศัยผู้มีความรู้ทางกฎหมายอยู่พอสมควร ดังนั้นหากท่านใดประสงค์จะยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกสามารถติดต่อปรึกษาเบื้องต้นมายังทนายชนะ ได้เลยครับ