สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
Chana Chanapol Law Office
สำนักงานทนายความชนะ ชนะพล
บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่ง และ คดีอาญา
ทั่วราชอาณาจักร
และยินดีให้คำปรึกษาด้านกฎหมายเบื้องต้นฟรี
(บริการเป็นกันเองครับ)
ดำเนินการโดย ทนายชนะ ชนะพล หรือทนายโบ้
โทร 080 549 3774
สาระกฎหมายกับทนายโบ้
ตอน วิเคราะห์กฎหมายสำคัญเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ
จากคลิป ข้างต้นจะเห็นพฤติการณ์ของชายคนหนึ่งขับรถจักรยานยนต์มาในเวลากลางคืนและกำลังละสายตาจากทางเดินรถ
หันมาจดจ่ออยู่กับโทรศัพท์มือถือโดยไม่เห็นรถยนต์ที่จอดอยู่ริมทางซึ่งจอดไม่ห่างจากหลอดไฟริมถนนซึ่งเปิดสว่างอยู่ จนเป็นเหตุให้ชนกับท้ายรถยนต์คันดังกล่าวทำให้ทรัพย์สิน(รถยนต์)เสียหาย
หลายๆท่านอาจมีข้อสงสัยกันว่ากรณีอย่างนี้จะเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง ทนายโบ้จึงขอนำความเห็นทางกฎหมายวิเคราะห์ในเบื้องต้นดังต่อไปนี้ครับ
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
(๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
มาตรา ๖๑ ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา ๔๒๒ ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
มาตรา ๔๔๒ ถ้าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ต้องเสียหายประกอบด้วยไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๒๓ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๓ ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วยไซร้ ท่านว่าหนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร
กรณีจากคลิปข้างต้น มีประเด็นคำถามว่า รถยนต์ที่จอดอยู่ริมทางโดยที่ไม่ได้เปิดสัญญาณไฟให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ดังกล่าวมองเห็นได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้จอดรถยนต์กรณีนี้จะมีความผิดตามมาตรา ๖๑ แห่ง พระราชบัญญัติจราจรทางบก หรือไม่
ขอให้ความเห็นว่ากรณีนี้กฎหมายดังกล่าวได้บังคับให้ผู้จอดรถที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๑ นั้น ก็เฉพาะกรณี ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอเท่านั้น กฎหมายใช้คำว่าในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอไม่ได้ใช้คำว่าในเวลากลางคืน ฉะนั้นแม้จะเป็นวลากลางวันก็ตามหากจอดรถทิ้งไว้ริมทางหากแสงสว่างไม่เพียงพอก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา ๖๑ คือต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และตรงข้ามหากแม้เป็นเวลากลางคืนแต่บริเวณที่จอดอยู่นั้นมีแสงสว่างเพียงพอจนสามารถมองเห็นได้ชัดในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตรแล้วละก็ไม่ต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภท ลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง อีกก็ได้
ซึ่งกรณีนี้ในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าบริเวณที่รถยนต์จอดอยู่นั้นมีแสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นได้ชัดตามมาตรา ๖๑ แล้ว ผู้จอดทิ้งไว้จึงไม่มีความผิดตามมาตรานี้
ก็อาจมีคนสงสัยต่อไปว่าถ้าสมมุติว่าบริเวณนั้นไม่มีไฟแสงสว่างเลยคือมืดสนิทล่ะ ฝ่ายรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้จะมีความผิดหรือไม่ หากเป็นอย่างนี้ขออธิบายว่า พรบ.จราจรทางบกนั้น เป็นกฎหมายที่ออกมาอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆแล้ว ฝ่ายรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้ไม่ปฏิบัติตาม ถ้าความเสียหายเกิดขึ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มารตรา ๔๒๒ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด ก็คือกฎหมายใช้คำว่า สันนิษฐานว่าผิด หมายความว่าไม่ได้ผิดอย่างเด็ดขาด จะใช้บทสันนิษฐาน ก็ต่อเมื่อมันไม่รู้จะพิสูจน์กันอย่างไรเนื่องจากพยานหลักฐานมันไม่ชัดอาจเพราะไม่มีใครเห็น ไม่มีวัตถุพยานใดๆเลยจะมีก็แต่การกล่าวอ้างกันลอยๆ ดังนั้นฝ่ายรถยนต์ก็อาจไม่พ้นเป็นฝ่ายผิดก็เป็นได้
คราวนี้เป็นประเด็นทางฝ่ายรถจักรยานยนต์กันบ้างครับ โดยปกติของวิญญููชนคนขับรถ จยย.ให้ปลอดภัยนั้น จะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถและการขับต้องไม่ละสายตาจากถนนทางด้านหน้าแต่ตามคลิปกลับฝ่าฝืนจึงเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นเสียหายก็ต้องชดใช้เขาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ และผู้ขับขี่ยังได้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถก็ผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา ๔๓ (๙) ต้องเสียค่าปรับอีกกระทงหนึ่งด้วย
สรุปกรณีตามคลิปข้างต้น ฝ่ายรถจักรยานยนต์ประมาทเพียงฝ่ายเดียวครับ
ขอขอบคุณ facebook อิทธิชัย อิท ผู้แชร์คลิป และ YouLike (คลิปเด็ด)
เรียบเรียงโดย ทนายชนะ ชนะพล
ทนายคดียาเสพติด ทนายหาดใหญ่ ทนายชนะ(ทนายโบ้)
บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และ คดียาเสพติด ทั่วราชอาณาจักร
และยินดีให้คำปรึกษาด้านกฎหมายเบื้องต้นฟรี
ดำเนินการโดย ทนายชนะ ชนะพล หรือ(ทนายโบ้) โทร 080 549 3774