วันที่โพสต์: Mar 27, 2016 4:52:57 AM
สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
วันที่โพสต์: Mar 27, 2016 4:52:57 AM
ในกรณีที่เบนซ์ซิ่งชนฟอร์ด ไฟลุกท่วมซึ่งเป็นข่าวดังอยู่นั้นมีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่าทางตำรวจทำไมไม่ยอมดำเนินการตรวจหาแอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดใดๆ ในร่างกายของผู้ขับขี่ บ้างก็มีข่าวว่าตำรวจอ้างว่าผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ตรวจเป็นสิทธิ์ของผู้ต้องหาที่จะไม่ยอมให้ตรวจก็ได้ ทนายโบ้จะมาไขประเด็นนี้ให้ได้ทราบในเบื้องต้นกันครับ ตามพระราชจราจรทางบกฯ ม.43(2)ได้ออกกฎหมายห้ามขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น จึงอาจสงสัยกันต่อว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเมา เอาอะไรเป็นเกณฑ์ชี้วัดครับและเจ้าพนักงานจะสั่งหรือบังคับผู้ต้องหาได้อย่างไรหรือไม่ ในประเด็นนี้ให้คำตอบว่าเจ้าพนักงาน(ตำรวจ)มีอำนาจสั่งให้หยุดรถเพื่อตรวจหาสารแอลกอฮอล์หรือหาสารเมาอย่างอื่นได้และในส่วนของวิธีการตรวจหาแอลกอฮอล์ได้มีกฎกระทรวงบัญญัติไว้เฉพาะซึ่งพอสรุปได้ว่าตรวจโดย 3 วิธี คือ จากการเป่าลมหายใจ จากปัสสาวะ หรือจากเลือด ในกรณีที่ตำรวจมักทำกันคือจากการเป่าลมหายใจ เข้าเครื่องทดสอบวัดหากผลออกมามีปริมาณเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา และหากเราไม่ยอมเป่าตามที่ตำรวจสั่งเราก็มีสิทธิ์ที่จะปฏิเสธการเป่าและตำรวจไม่มีอำนาจข่มขืนใดๆเช่นโดยการง้างปากแล้วยัดเครื่องเป่าเข้าปากเราได้ครับแต่อย่าเพิ่งดีใจไปนะครับทางแก้ของตำรวจตามพรบ.จราจรฯ ม.142 เค้ามีอำนาจกักตัวไว้เพื่อตรวจ ภายในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นแก่กรณีซึ่งก็อาจจะกักไว้สัก 2-3 ชม. ท่านอาจจะรอไม่ไหวก็ได้แล้วยอมเป่าใช่มั้ยครับแต่บางท่านอาจคิดว่างั้นนั่งรอดีกว่า2หรือ3ชม.ก็รอได้ครับแต่เรื่องไม่จบแค่นี้ครับหากตำรวจต้องการจะดำเนินคดีกับท่านจริงๆระหว่างที่กักตัวอาจตั้งข้อหาเมาแล้วขับโดยคุณจะตกเป็นผู้ต้องหาทันทีจากนั้นพนักงานสอบสวนอาจใช้อำนาจแห่ง ปวิอ.131/1ให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญตรวจหรือ ม. 237ทวิ 237ตรี โดยจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจแอลกอฮอล์ท่านไว้ก่อนฟ้องคดีก็ได้ครับคราวนี้หากท่านไม่ยอมให้ตรวจก็มีสิทธิ์ปฏิเสธได้เช่นกันแต่ตามกฎหมาย ปวิอ. ม.131/1 ว.2 หรือ 244/1 ว.2 จะสันนิษฐานว่าท่านมีแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวอ้างต่อศาลครับสรุปสุดท้ายก็ไม่ไปรอดครับ
คราวนี้จะมาวิเคราะห์ประเด็นข่าวกันซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้ขับขี่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารักษาตัวโรงพยาบาลซึ่งกรณีนี้จะไม่สามารถตรวจโดยเป่าลมหายใจได้ต้องตรวจจากกระแสเลือดโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งจะสั่งโดยพนักงานสอบสวนตาม ม. 131/1 หรืออาศัยบารมีศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตรวจตาม ม. 237ทวิ 237ตรี ได้ทำนองเดียวกันครับและหากศาลสั่งลงมาแล้วผู้ขับขี่ยังไม่ยอมให้ตรวจอีกกฎหมายก็สันนิษฐานว่าผู้ขับขี่มีแอลกอฮอล์ตามที่ตำรวจกล่าวอ้างครับมีคำถามต่อว่าแล้วหากพนักงานสอบสวนไม่กล่าวอ้างกล่าวหาอะไรเลยทั้งที่เราๆท่านๆก็คิดว่าผู้ขับขี่รายนี้น่าจะเมาแล้วขับกรณีนี้ผมขอแนะนำครับเราไม่มีสิทธิ์ที่จะบังคับให้พนักงานสอบสวนกระทำการใดได้เช่นกันครับเพราะพยานหลักฐานใดที่จะสำคัญหรือไม่สำคัญในคดีอาจจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางพนักงานสอบสวนครับแต่ทางแก้ก็ให้ผู้เสียหายติดต่อหาทนายครับใช้บริการทนายความบ้างครับให้ทนายเป็นผู้ดำเนินคดีต่างผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้แพทย์ตรวจตาม ปวิอ. 237ทวิ หรือ 237ตรี ได้ครับ
หมายเหตุ
มาตรา 237ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปวิอ. (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 มาตรา ๒๓๗ ตรี ๑๔๖ ให้นําความในมาตรา ๒๓๗ ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่กรณี การสืบพยานผู้เชี่ยวชาญ และพยานหลักฐานอื่น และแก่กรณีที่ได้มีการฟ้องคดีไว้แล้วแต่มีเหตุจําเป็น ที่ต้องสืบพยานหลักฐานไว้ก่อนถึงกําหนดเวลาสืบพยานตามปกติตามมาตรา ๑๗๓/๒ วรรคสองด้วย ในกรณีที่พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงอัน ๑๔๖ มาตรา ๒๓๗ ตรีเพิ่มโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา (ฉบับที่ ๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๑ สําคัญในคดีได้หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่า หากมีการเนิ่นช้ากว่าจะนําพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อัน สําคัญมาสืบในภายหน้าพยานหลักฐานนั้นจะสูญเสียไปหรือเป็นการยากแก่การตรวจพิสูจน์ผู้ต้องหา หรือพนักงานอัยการโดยตนเองหรือเมื่อได้รับคําร้องจากพนักงานสอบสวนหรือผู้เสียหาย จะยื่นคําร้อง ขอ ให้ศาลสั่งให้ทําการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามความในมาตรา ๒๔๔/๑ ไว้ก่อนฟ้องก็ได้ ทั้งนี้ให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๒๓๗ ทวิมาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔๔/๑ ๑๕๑ ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจําคุก หากมีความ จําเป็นต้องใช้พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่เป็นประเด็นสําคัญแห่งคดี ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้ทําการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใด โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้
ในกรณีที่การตรวจพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง จําเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิวหนัง เส้นผมหรือขน น้ําลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือส่วนประกอบของ ร่างกายจากคู่ความหรือบุคคลใด ให้ศาลมีอํานาจสั่งให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญดําเนินการตรวจดังกล่าว ได้แต่ต้องกระทําเพียงเท่าที่จําเป็นและสมควรโดยใช้วิธีการที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดเท่าที่ จะกระทําได้ทั้งจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออนามัยของบุคคลนั้น และคู่ความหรือบุคคลที่ เกี่ยวข้องต้องให้ความยินยอม หากคู่ความฝ่ายใดไม่ยินยอมหรือกระทําการป้องปัดขัดขวางมิให้บุคคล ที่เกี่ยวข้องให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่ คู่ความฝ่ายตรงข้ามกล่าวอ้าง
ในครั้งนี้ทนายโบ้ขอสรุปพอเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจวัดแอลกอฮอล์เท่านี้ก่อนครับ เพื่อนๆพี่น้องที่สนใจสอบถามเข้ามาได้ครับผมทนายโบ้ยินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นครับ
ขอขอบคุณภาพข่าวจาก เว็บไซน์ข่าวสด ครับ
เรียบเรียงโดย ทนายชนะ ชนะพล ทนายคดียาเสพติด ทนายหาดใหญ่