การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โอนทรัพย์สินให้บุตรหลังจากจากเป็นหนี้ โดยมีเจตนาไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ ก่อนศาลมีการฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องโจทก์ โจทก์สืบทรัพย์ไม่พบทรัพย์สินใด ๆ ขอถามว่า โจทก์สามารถร้องขอเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลได้หรือไหม ? และ หลักการสืบพยานหลักฐาน โดยขอพยานหลักฐานที่เป็นของบุตร(ไม่ได้เป็นการละมิด) ถามว่าควรสืบจากอะไรก่อนหรืออื่นๆ ดี
คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
1. อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านั้น ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ยังไม่ได้ฟ้องร้องขอให้ชำระหนี้ก็ตาม ดังนั้น หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ฯ เจ้าหนี้ฯ จึงมีอำนาจฟ้องลูกหนี้และบุตรให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
2. ส่วนการสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการทำนิติกรมที่เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้กล่าวอ้างอิงต้นฉบับเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้รับโอนเป็นจำเลย เจ้าหนี้สามารถจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งจำเลยส่งต้นฉบับเอกสารนั้นได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล กฎหมายให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยไม่ยอมรับแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 123 วรรคแรก
Chana Chanapol Law Office
สำนักกฎหมายทนายชนะ
บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่ง และ คดีอาญาทั่วราชอาณาจักร
ดำเนินการโดย ทนายชนะ ชนะพล หรือทนายโบ้ โทร 0805493774