เงินกู้นอกระบบ
สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
เงินกู้นอกระบบ
ตามกฎหมายการกู้เงินกันกว่าสองพันบาทขึ้นไปกฎหมายให้มีหลักฐานเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ตาม ป.พ.พ. 653 ว.แรก กล่าวคือ ลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิด ในที่นี้ขอแนะนำฝ่ายผู้กู้นะครับ คือต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ เป็นหลักฐาน เช่นนี้บางครั้งก็ได้มีการกู้โดยมิได้ มีการทำสัญญาหรือหลักฐานอะไรต่อกันศาลจะไม่รับฟ้องบังคับให้ครับ แต่ก็มีเจ้าหนี้เงินกู้ไม่น้อยหัวเส เอาฟอร์มสัญญากู้เงินสำเร็จรูปเปล่าๆมาให้เซ็นต์ชื่อช่องผู้กู้ โดยไม่ได้กรอกข้อความรายละเอียดอื่นๆ และจะเอามากรอกข้อความเพิ่มภายหลังเพื่อจะฟ้องคดี ซึ่งกรณีนี้ถามว่าสัญญาอย่างนี้ใช้ได้หรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้สัญญาอาจไม่เสียไปเลยทีเดียวหากข้อความที่กรอกภายหลังนั้นตรงกับข้อเท็จจริงทุกประการ เช่น วันที่กู้ จำนวนเงินต้น อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระหนี้ เป็นต้น อันนี้ก็จะใช้ฟ้องบังคับได้ครับ
มีประเด็นว่า กำหนดดอกเบี้ยกันตามกฎหมายได้กันมากน้อยเท่าไร
การกู้ ตามปพพ. ม.653 นั้นกฎหมายกำหนดให้คิดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามปพพ.ม.654 กล่าวคือจะเป็นบุคคลทั่วไปเป็นผู้ให้กู้จะไม่
รวมถึงผู้ให้กู้ที่เป็นผู้ประกอบการ เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทเงินทุนต่างๆ เหล่านี้อาจคิดเกินกว่าร้อย ละ 15 ได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ประเด็นว่าหากมีบุคคลทั่วไปคิดดอกเบี้ยเกินอัตรา สัญญากู้ยังจะใช้บังคับได้อยู่หรือไม่อย่างไร
กรณีนี้ สัญญากู้ก็ยังไม่เสียไปเลยทีเดียว กล่าวคือเสียไปเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยเท่านั้นที่เป็นโมฆะ ก็คือดอกเบี้ยจะเป็นโมฆะทั้งหมดเรียกตามสัญญาไม่ได้เลยสักบาท แต่เงินต้นยังคงเรียกได้อยู่ครับ
ประเด็นว่าเงินที่ชำระเป็นค่าดอกเบี้ยที่เกินอัตรา ซึ่งสูงมากอาจร้อยละ 20 ต่อปี ต่อเดือน หรือ ต่อวัน และเมื่อคำนวณแล้วจำนวนดอกเบี้ยรวมที่ชำระไปทั้งหมดมีมากกว่า จำนวนเงินต้นเสียอีก จะนำมาหักลบกับเงินต้นได้มั้ย
ตอบว่า อาจจะนำมาหักลบไม่ได้ครับต้องมองถึงความสุจริตของผู้กู้ยืมด้วย เพราะขณะที่กู้ยืมกันส่วนใหญ่ผู้กู้ก็รู้กันอยู่แล้วว่าเจ้าหนี้เงินกู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราดอกเบี้ยเป็นโมฆะ และก็มักจะรู้ว่าเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตรานี้ ดังนั้นเท่ากับผู้กู้รู้อยู่แล้วว่าดอกเบี้ยที่ตนชำระคืนไปนั้นไม่มีผลผูกพันธ์ตามกฎหมายให้ต้องชำระ และเมื่อชำระให้แก่เจ้าหนี้ไปก็เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจลูกหนี้จึงไม่สามารถเรียกคืนได้ ดังนั้นเท่ากับเจ้าหนี้กินฟรี และเงินต้นก็ยังอยู่
ประเด็นว่า บางงวดบางเดือนเราชำระทั้งดอกเบี้ยที่เกินนั้นด้วยและชำระเงินต้นด้วย แต่ปรากฎว่าเจ้าหนี้ก็ยังไม่หักต้นเงินให้ก็คือกินฟรีตลอด ทั้งต้นทั้งดอกชำระเท่าไหร่ไม่เคยลดลงเลย
กฎหมายมิได้กำหนดวิธีแต่เฉพาะเพียงการกู้กันเท่านั้นครับ ได้กำหนดวิธีการใช้เงินคืนโดยชอบด้วยกฎหมายไว้ใน
ปพพ. ม.653 ว.2 มีให้เลือก 3 วิธี คือ
1.มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ มาแสดง
2.หรือ เอกสารแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว
3.หรือ ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
จะอธิบายวิธีแรกครับ หลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ มาแสดง หมายความว่าอาจเป็นใบเสร็จรับเงินโดยระบุอ้างถึงสัญญากู้ฉบับนั้นๆ ให้มีข้อความฟังดูรู้ได้ทันทีว่าได้ชำระหนี้ จำนวน... ดอกเบี้ยจำนวน....ตามสัญญาลงวันที่ ระหว่างใครกับใคร และผู้ให้กู้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วเป็นต้น และลงลายมือชื่อเจ้าหนี้ไว้อันนี้สำคัญมาก
วิธีที่ 2 ง่ายมากกว่าวิธีใดๆ เอกสารแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว ก็คือเอาสัญญากู้ฉบับนั้นมาเก็บไว้กับเราผู้กู้ครับ แต่อย่าไปโขมยมานะครับ คือเมื่อชำระหนี้จนครบก็ขอสัญญากู้คืนครับ
วิธีที่ 3 ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว อันนี้สัญญากู้เจ้าหนี้อาจจะขอเก็บไว้เองโดยไม่ให้คืนเรา แต่ให้จดบันทึกข้อความเป็น
ทำนองว่าได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วให้ยกเลิกสัญญาฉบับนี้แล้ว หรือจะฉีกทำลายสัญญาก็ทำได้ครับหรือจะขีดฆ่าสัญญาถ้าจะเลือกวิธีนี้ให้กระทำต่อหน้าเลยครับป้องกันการนำมาฟ้องภายหลัง
กฎหมายให้พิสูจน์การใช้เงินโดยสามวิธีนี้เป็นหลักครับและเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับถ้าพิสูจน์ตามนี้ไม่ได้ทั้งต้นทั้งดอกอาจจะยังอยู่ครบนะครับ
ยังมีประเด็นอีกเยอะครับเพื่อนๆพี่น้องที่สนใจสอบถามเข้ามาได้ครับผมทนายโบ้ยินดีให้คำปรึกษาเบื้องต้นครับ
เรียบเรียงโดย ทนายชนะ ชนะพล
ทนายคดียาเสพติด ทนายหาดใหญ่ ทนายชนะ(ทนายโบ้)
เรียบเรียงโดย ทนายชนะ ชนะพล ทนายคดียาเสพติด ทนายหาดใหญ่
บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดียาเสพติด ทั่วราชอาณาจักร
ปรึกษากฎหมายเบื้องต้น โทร 080 549 3774 ดำเนินการโดย ทนายชนะ ชนะพล หรือทนายโบ้