สำนักกฎหมายทนายชนะ ทนายหาดใหญ่ ทนายสงขลา บริการว่าความ ฟ้อง แก้ต่างคดีแพ่งคดีอาญา และคดียาเสพติดทั่วราชอาณาจักร โดยทนายชนะ ชนะพล โทร 080 549 3774
วิธีการเพิกถอนการฉ้อฉล สามารถกระทำได้โดย เจ้าหนี้ยื่นฟ้องคดีโดยตรงหรือขอให้เพิกถอนการต่อสู้ในคดีร้องขัดทรัพย์ ให้พิจารณาจากฎีกาดังต่อไปนี้
ฎีกา 1151/2503
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบนั้น เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี เจตนารมย์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวกันได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้ว ศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในมาตรา 237 ได้ โดยมิพักต้องให้เจ้าหนี้ไปฟ้องดำเนินคดีฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2503)
ฎีกา 228/2506
ผู้ร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของจำเลยทั้งนั้นไม่ใช่ของผู้ร้อง ที่ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ก็เพื่ออุบายฉ้อโกงไม่ชำระหนี้แก่โจทก์เท่านั้น ดังนี้ ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าอย่างน้อยก็เป็นการสมยอมกัน เป็นการฉ้อฉล การที่ศาลยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2505)
เรื่องการฉ้อฉลนี้ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวแล้วได้และเมื่อฟังว่าการโอนทรัพย์ระหว่างจำเลย (สามี) กับผู้ร้อง (ภรรยา) เป็นการฉ้อฉลตามมาตรา 237 ก็มีอำนาจที่จะพิพากษาว่าโจทก์นำยึดทรัพย์รายนี้ได้ ผู้ร้องไม่ชอบที่จะมาร้องขัดทรัพย์และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ร้องจะโต้แย้งว่าเป็นเรื่องของโจทก์ที่จะขอแบ่งแยกสินบริคณห์แล้วนำยึดเฉพาะส่วนของจำเลยดังนี้ ย่อมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่7824/2553 การทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองต้องจดทะเบียนต่อสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานดำเนินการรับจดทะเบียนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเรื่องที่โจทก์แจ้งสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคขอให้ระงับการทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์เรือก่อนจดทะเบียน ต้องถือว่าขณะทำนิติกรรมจำเลยที่ 2 รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จึงใช้สิทธิขอเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์เรือระหว่างจำเลยทั้งสองได้